" พวกเฮาบ่ใช่ผี พวกเฮาเป็นคน ผีคือคนที่ตายไปแล้ ว แต่พวกเฮายังบ่ตาย ขออย่าเรียกพวกเฮาเป็น ผีตองเหลือง เลย "

ชนเผ่ามละ Mla หรือที่คนอื่นเข้าใจในชื่อ เผ่าตองเหลือง หรือ มลาบรี (Mlabri) โดยสามารถแบ่งความหมายของชื่อของชนเผ่านี้ได้ดังนี้คือ
มละ แปลว่า คน ( ซึ่งคำนี้ต้องอ่านควบกันทั้งสองพยางค์ทีเดียว) เป็นคำที่ชนเผ่านี้ใช้เรียกชนเผ่าของตนเอง และจะใช้เรียกชนเผ่าอื่น ๆ หรือ ชนชาติอื่นว่า กวั๊ร
ส่วนคำว่า บรี หมายถึง ป่า ซึ่งเป็นคำที่เพิ่งมาเพิ่มตอนหลังๆ จึงทำให้เกิดคำว่า
มลาบรี Mlabri หมายถึง คนป่า
แต่ชนเผ่านี้อยากให้เรียกพวกเขาว่า ชนเผ่ามละ ที่หมายถึง คน ไม่ใช่ มลาบรี ที่หมายถึง คนป่า เพราะพวกเขาไม่ใช่คนป่า พวกเขาเพียงใช้ชีวิตอยู่ในป่าเท่านั้น หรือเป็นชื่อที่พวกเขาเองไม่ได้ใช้เรียกกับตัวเอง แม้กระทั่งภายหลังเริ่มมีคำว่า ผีตองเหลือง เป็นคำที่คนอื่นตั้งให้พวกเขา ทั้งที่พวกเขาไม่ได้เป็นผี เขาก็เป็นมนุษย์เสมือนเราทุกคน คำนี้เป็นคำที่ ชนเผ่ามละ ไม่ชอบ การไม่เรียกชื่อนี้กับพวกเขาถือเป็นการให้เกียรติ
ผีตองเหลือง ชนกลุ่มน้อยที่ในอดีตเขาใช้ชีวิตอยู่ในป่า หาของป่า ล่าสัตว์เป็นอาหาร ไม่มีการเพาะปลูก ไม่มีถิ่นฐานเป็นหลักแหล่งแน่นอน แต่จะรวมตัวกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ เพื่อหาอาหารและสัตว์ป่าในชั่วระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งเมื่อแหล่งอาหารเริ่มลดน้อยลงก็จะโยกย้ายถิ่นฐานไปหาอาหารในแหล่งอื่น ๆ ต่อไป โดยระยะเวลาที่ตั้งหลักแหล่งและโยกย้ายออกไปนั้นจะใกล้เคียงกับเวลาที่ใบตองสดสีเขียวที่ใช้มุงเพิงเป็นที่พักอาศัยเปลี่ยนเป็นสีเหลือง
ประกอบกับชนเผ่ามลาบรีมีความหวาดกลัวคนภายนอก เมื่อใดที่มีคนนอกกลุ่มเข้ามาใกล้ที่พักพวกเขาก็จะหลบหนีออกจากที่พักไป จึงเป็นที่มาของคำว่า ผีตองเหลือง เพราะเมื่อใครที่ไม่ใช่คนในกลุ่มเข้าไปถึงพี่พักก็จะไม่ได้มีโอกาสเจอพวกเขาจะเจอแต่ซากเพิงพักอาศัยที่มุงด้วยใบตองเหลือง
ณ วันนี้ชาวตองเหลืองอาศัยอยู่ที่จังหวัดน่าน ได้หยุดชีวิตเร่ร่อนลงแล้ว และได้ออกจากป่ามาปักหลักตั้งถิ่นฐานเป็นหมู่บ้านถาวรอยู่ที่ คุ้มที่ 5 ชุมชนตองเหลือง บ้านห้วยหยวก หมู่ 6 ตำบลแม่ขะนิง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน
จำนวนประชากร 169 คน จาก 30 หลังคาเรือน 33 ครอบครัว แยกเป็นเด็กผู้ชาย 39 คน เด็กผู้หญิง 58 คน ผู้ใหญ่เพศชาย 34 คน ผู้ใหญ่เพศหญิง 38 คน
สถานศึกษา
1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัยเตาะแตะในหมู่บ้าน มีนักเรียนจำแนกตามเพศ ชาย 6 คน หญิง 13 คน
2. ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนชาวไทยภูเขา "แม่ฟ้าหลวง" มลาบรี สำหรับสอนผู้ใหญ่ในภาคค่ำ
3. โรงเรียนโรงเรียนบ้านภูเค็ง
วิถีความเป็นอยู่
เขามีวิถีชีวิตอยู่อย่างพอเพียงไม่ต้องการอะไรมากมาย ขอแต่มีอาหารให้เขากินเพื่ออยู่รอดไปวัน ๆ ก็เพราะอยู่บนนี้แทบจะไม่มีค่าใช้จ่ายเลย
ระบบสาธารณูปโภค
1. ห้องน้ำ มีไม่ครบทุกหลังคาเรือน
2. ไฟฟ้า ใช้ระบบไฟฟ้าแบบโซล่าเซลล์
3. น้ำ มีระบบประปาภูเขา
 หมู่บ้านชนเผ่ามละ (มลาบรี)

ที่พัก (ห้องนอน)


สถานศึกษาในชุมชน
|